อินเดีย และ ญี่ปุ่น เร่งสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์ไม่มีต้นทุน จึงถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับประเทศที่มีแดดจัดมากกว่า 300 วันในรอบปีอย่างประเทศอินเดีย
ด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลอินเดียจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยตั้งงบประมาณไว้ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ถึง 100 กิกะวัตต์ในปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะตอบสนองความต้องการไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงหมู่บ้านที่ยังขาดแคลนกระแสไฟฟ้าอีก 30,000 กว่าแห่งทั่วประเทศในระยะอันใกล้
นอกจากนี้ อินเดียมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 750 เมกะวัตต์ ที่รัฐมัธยะประเทศ โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะมีขนาดใหญ่กว่าโรงไฟฟ้าที่รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้มีกำลังผลิตรวม 550 เมกะวัตต์ โดยกำหนดจะเปิดโรงไฟฟ้าในเดือนสิงหาคมปีหน้า
ที่ผ่านมา อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการนำเชื้อเพลิงอื่นๆ มาผลิตกระแสไฟฟ้า อีกทั้งความต้องการพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อการผลิตไฟฟ้า 20-60 เมกะวัตต์ แต่ภายหลัง เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีต้นทุนที่ต่ำลง รัฐบาลอินเดียก็ไม่รีรอที่จะสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์
ปัจจุบัน อินเดียสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์รวม 3,002.66 เมกะวัตต์ โดยรัฐคุชราตเป็นผู้นำอันดับหนึ่งซึ่งมีกำลังผลิตรวม 929 เมกะวัตต์ ตามด้วยรัฐราชสถาน ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 839.5 เมกะวัตต์ รัฐมัธยะประเทศ ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 353.58 เมกะวัตต์ และรัฐอานธรประเทศ ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 234.86 เมกะวัตต์
แน่นอนว่ารัฐทางตอนใต้ของประเทศอินเดียไม่นิ่งนอนใจต่อทางเลือกใหม่ของพลังงาน ที่เมืองบังคาลอร์ เมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน โดยขณะนี้มีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 200 เมกะวัตต์
ส่วนรัฐทมิฬนาฑูก็เป็นอีกรัฐที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากมีแสงแดดเจิดจ้าร้อนแรง กว่า 300 วันต่อปี หรือราวๆ 1,500 – 2,000 ชั่วโมง
โดยทางรัฐทมิฬนาฑูมีแผนพัฒนาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้นโยบาย Tamil Nadu Solar Energy Policy 2012 ซึ่งมีเป้าหมายในการผลิตให้ได้ถึง 3,000 เมกะวัตต์ในปี 2558 ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผน คือ Tamil Nadu Energy Development Agency (TEDA)
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว TEDA ได้ประกาศแผนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือ Solar Rooftop โดยเริ่มจากบ้านพักผู้ว่าการรัฐและอาคารสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานด้านไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการที่มีกำลังผลิต 85 กิโลวัตต์ และจะอนุมัติให้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนอาคารรัฐสภา มีกำลังผลิต 30 กิโลวัตต์ อีกทั้งจะทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนอาคารของหน่วยงานของรัฐกว่า 300 แห่งทั่วรัฐทมิฬนาฑู โดยแต่ละจุดคาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 7 กิโลวัตต์
แม้จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามอาคารที่ระบุไว้ได้ครบถ้วนจะมีอัตราการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 2,185 กิโลวัตต์ ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน Tamil Nadu Solar Energy Policy 2012
ทุกวันนี้ ธุรกิจภาคเอกชน และครัวเรือนชาวทมิฬนาฑูก็เริ่มลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ของตัวเองบ้างแล้ว โดยรัฐบาลทมิฬนาฑูให้การสนับสนุนรับซื้อไฟฟ้าที่ภาคเอกชนและครัวเรือนผลิตได้และส่งเข้าสู่สายส่งไฟฟ้าได้
อัตราที่รัฐบาลทมิฬนาฑูประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 7.01 รูปีต่อหน่วย ซึ่งอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอีกหลายรัฐของอินเดีย เช่น รัฐราชสถาน รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 6.45 รูปี ต่อหน่วย รัฐอานธรประเทศ รับซื้อที่อัตรา 6.49 รูปีต่อหน่วย ขณะที่หน่วยงานกลางของรัฐบาลอินเดีย คือ Central Electricity Regulatory Commission ประกาศรับซื้อในอัตรา 6.99 รูปี
การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าคืออุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศอินเดีย ซึ่งนับเป็นโอกาสของภาคเอกชนไทยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะมองหาช่องทางเติมเต็มความต้องการพลังงานไฟฟ้า ที่มีเป้าหมายขนาดใหญ่รองรับอยู่
ส่วนทางตอนเหนือของแคว้นคุชราต ในพื้นที่รกร้างทางเหนือของเมือง มีโครงการนำร่องที่แก้ปัญหาทั้งการขาดแคลนพลังงาน และขาดน้ำใช้ในละแวกคลองนามาด้า ด้วยวีธีง่ายๆ แต่ได้ผลไม่น่าเชื่อ โครงการน้ำร่องนี้เริ่มต้นที่ต้องการจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งพื้นที่จะติดตั้งนั้นเมื่อไปวางบนผืนดินก็อาจจะเสียพื้นที่อยู่อาศัยหรือการทำเกษตรกรรมรูปแบบต่างๆ ไปได้ ทางเลือกที่โครงการน้ำเสนอคือ ไหนๆ ก็ต้องวางเหล่าดงแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้แล้ว ต้องวางที่ไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ทางออกของปัญหาจึงมาจบลงที่วางทุ่งแผงโซลาร์เซลล์นี้คร่อมคลองนามาด้าเสียเลย ด้วยเพราะจะสามารถลดการเสียน้ำไปจากการระเหยด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งใน 1 ปีจะลดการระเหยของน้ำได้ถึง 9 ล้านลิตรจากระยะทางของการคลุมคลองความยาวกว่า 19,000 กิโลเมตร ผลลัพธ์เหล่านี้สามารถนำน้ำที่เคยหายไปมาช่วยชาวคุชราตได้มากเลยทีเดียว และยังผลิตไฟฟ้ากว่า 600 เมกกะวัตต์ให้กับ 11 ตำบลในคุชราตอีกด้วย
ในปัจจุบันคลองที่มีแผงโซลาร์เซลล์คลุมเพื่อลดการระเหยของน้ำนี้มีความยาวกว่า 458 กิโลเมตรในเส้นคลองหลัก หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะมีความยาวมั้งหมด 85,000 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยให้ชาวอินเดียมีน้ำใช้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกโขเลยทีเดียว ด้วยวิธีแก้ปัญหาอันชาญฉลาดก็คือ การวางแผน การออกแบบก่อนลงมือทำเท่านั้นเอง และในขณะเดียวกันที่บ้านเรามีคลองชลประทานมากมาย พร้อมกับมีแสงอาทิตย์เข้มข้นเหลือเฟือ ดูงานนี้แล้วมันน่าสนใจจริงๆ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.creativemove.com/architecture/india-first-canal-top-solar-power-project/
http://www.creativemove.com/architecture/india-first-canal-top-solar-power-project/
ที่ญี่ปุ่น
บ.เคียวเซร่าบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ ขยายโครงการเปลี่ยนสถานที่รกร้างให้กลายเป็นแหล่งที่มาของการสร้างพลังงานที่สะอาดอย่างแสงอาทิตย์
อีก 3 ปี คนเกือบ 4 หมื่นครอบครัวที่ญี่ปุ่นจะได้ใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
บ.เคียวเซร่าบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ ขยายโครงการเปลี่ยนสถานที่รกร้างให้กลายเป็นแหล่งที่มาของการสร้างพลังงานที่สะอาดอย่างแสงอาทิตย์
โดยก่อนหน้านี้ทางเคียวเซร่าได้เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 23 เมกะวัตต์ยังสนามรกร้างในจังหวัดเกียวโต ด้วยกำลังการผลิต 26,312 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี สามารถผลิตพลังงานที่เพียงต่อความต้องการของครัวเรือนได้ 8,100 หลัง ตามค่าโดยเฉลี่ยของการใช้พลังงานในแต่ละบ้าน 3,254.4 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปี 2017 โดยไฟฟ้าที่ได้จะขายให้กับการไฟฟ้า
อีกสถานที่หนึ่งในจังหวัดคาโกชิมะ ซึ่่งถูกทิ้งเป็นสถานที่รกร้างมานานกว่า 30 ปี ทางเคียวเซร่าก็กำลังพัฒนาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 92 เมกะวัตต์ ด้วยโมดูลกว่า 340,000 โมดูลในกำลังการผลิตกว่า 100,000 เมกะวัตต์ สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานได้ถึง 30,500 ครัวเรือน และจะเปิดดำเนินการในปี 2018
ที่มาและภาพประกอบ http://qz.com
แปลและเรียบเรียงบทความโดย Copyright : www.energysavingmedia.com
เข้าชม 18 ครั้ง