ตะวันออกศอกกลับ !!


ในอดีต ตะวันออกกับตะวันตก ฟังดูอาจห่างไกล
แต่โลกปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นตะวันออกหรือตะวันตกก็คล้ายอยู่ใกล้กันมากขึ้น
เมื่อตะวันตกอยู่ในตะวันออก หรือตะวันออกเคลื่อนทับตะวันตกจนแยกไม่ออก
เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกันในห้วงเวลาและความรู้สึก สำหรับ  
ตะวันออกศอกกลับ หนังสือรวมเรื่องสั้นของ อ.ต้น-อนุสรณ์ ติปยานนท คือ 8 เรื่องสั้นที่กลั่นจากความคิดผสานอารมณ์ความรู้สึกเหงาเศร้า

อาจารย์ต้น เล่าถึงหนังสือรวมเรื่องสั้น ตะวันออกศอกกลับ ว่า เล่มนี้ไม่ใช่ผลงานเล่มล่าสุด
ยังมีนวนิยายเรื่อง “วายัง-อมฤต” อีกเล่มหนึ่งที่ออกมาในเวลาใกล้ ๆ กัน  ตอนนี้ มาอยู่ที่จ.กาฬสินธุ์
ซึ่งจะอยู่ติดกับจ.ขอนแก่น  สกลนคร
และร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่คนไม่ค่อยผ่านไป เป็นเมืองเวิ้งอยู่ตรงกลาง
ไม่มีสนามบิน ซึ่งจริง ๆ บรรยากาศที่นี่ก็ไม่ได้เหมาะกับการผลิตงานเขียน
แต่มีเรื่องเกี่ยวกับอาหารให้ทำ ก็ค่อย ๆ ขยับขยายไป
ที่ผ่านมาก็ฝึกตัวเองมาตลอดให้สามารถทำงานได้ทุกพื้นที่


เมื่อถามถึงรวมเรื่องสั้น ตะวันออกศอกกลับ
ว่ามีฉากต่างประเทศค่อนข้างมาก อ.ต้น เฉลยว่า เรื่องสั้นบางเรื่องก็ระบุพิกัดพื้นที่
แต่หลายเรื่องก็ไม่ได้บอกไว้ พยายามจะไม่ระบุ แต่ผู้อ่านกลับรู้สึกได้ถึงความเวิ้งว้าง
ไกล ๆ ไม่สามารถระบุพิกัดที่ชัดเจนได้ ก็เป็นความตั้งใจของผู้เขียน เพราะปัจจุบัน เราอยู่ในโลกที่ไม่ค่อยจริงขึ้นเรื่อย
 นำไปสู่การถกเถียงที่น่าขำ เช่น
เราบอกว่าเราเป็นไทยแท้ ๆ หรือไม่ ความเป็นไทย หรือไม่ไทยก็เริ่มแปลกขึ้นเรื่อย ๆ
ในขณะที่เราจะบอกว่า ต้องต่อสู่เพื่อความเป็นไทย
แต่ในอีกมิติหนึ่งก็มีอะไรเลื่อนไหลเข้ามาเยอะ เรารับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา บางทีก็นั่งถกเถียงเรื่องความเป็นไทยในร้านสตาร์บัค
เป็นภาวะที่ตะวันตกเข้ามา และเราก็ส่งออกไปตะวันออก ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
 มันไม่มีพื้นที่ที่แน่นอน สมัยก่อนเรามีชีวิตค่อนข้างเป็นหนึ่งเดียว
 กินข้าวอาบน้ำถึงบ้านก็นอน  ตัวตนเราก็หลับไป แต่เมื่อเริ่มมีโซเชียลมีเดีย
ขณะนี้ เราหลับ ตัวตนในโลกโซเชียลยังทำงานอยู่ มีคนเข้ามาทักเข้ามาคุยอยู่ตลอดเวลา
แสดงว่า ก็ยังมีตัวตนของเราอีกตัวตนหนึ่งที่ยังทำงานอยู่ เพียงแต่เราไม่ได้ตอบโต้ ก็เป็นเรื่องตลกที่บางครั้งเรื่องเร่งด่วน
คนก็ยัง
inbox มาใน facebook แทนที่จะโทรศัพท์กัน
มันผิดกระบวนการในการจัดการ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันเรามีอัตลักษณ์หลากหลาย

“คิดว่าอัตลักษณที่หลากหลาย ทำให้บางคนมองเราแค่บางส่วนของอัตลักษณ์
แทนที่จะมองทั้งหมด เดี๋ยวนี้คนเราตัดสินคนจากโลกโซเชียลมีเดีย หรือบางสเตตัสในโซเชียล
ทำให้มนุษย์ถูกฉีกออกเป็นเศษเสี้ยว เป็นส่วน ๆ  ฉะนั้นเรื่องสั้นในเล่มนี้พยายามบอกว่าแต่ละคนจะต้องหาทางให้เศษเสี้ยวเหล่านี้ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง
เป็นก้อนให้ได้ เช่น ตอน โซลองฮาลองเบย์ ที่ตัวละครไปอยู่ในที่หนึ่ง
แล้วพบว่า
ในขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในฮาลองเบย์
ตัวเองยังติดอยู่กับเรื่องราวในอดีตสมัยเหตุการณ์สึนามิ” อ.ต้น
อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 

อ.ต้น อธิบายต่อไปอีกว่า แม้ส่วนใหญ่ตัวละครจะติดอยู่ในอดีต
แต่ก็มีเรื่องของอนาคตเหมือนกัน ส่วนที่เลือกให้เรื่อง เดอะไบซิเคิลแมน
เป็นเรื่องแรกเพราะอยากชักชวนให้คนเดินทาง ขี่จักรยานไป ชวนผู้อ่านผจญภัยไปใน 8
เรื่อง ที่น่าค้นหา แต่อีกมุมก็เป็นการทดลอง เป็นความพยายาม บอกกับตัวเองว่า ถ้าเป็นนวนิยายจะพยายามให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง
ขณะที่เรื่องสั้นจะทำให้โครงสร้างมันหลวมที่สุด
เพราะเป็นการบาลานซ์ให้เห็นเทคนิคในการเขียนทั้งสองแบบ แบบแรกเป็นดีเทลมาก ๆ
ส่วนอีกแบบก็ให้เป็นเหมือนภาพสเก็ตช์ 
พูดแค่สถานการณ์ตรงนั้น เรื่องราวตรงนั้น โดยไม่ต้องมีคำตอบ
ซึ่งที่มาจากงานเขียนของกลุ่มอเมริกัน


“ถ้าเราใช้โครงเรื่องเหมือนงานเขียนกลุ่มอเมริกัน
ก็น่าจะทำได้ บางครั้งวรรณกรรมเรื่องสั้นไม่จำเป็นต้องมีคำตอบ ในมิติหนึ่งอาจจะให้ความรู้สึก
ตื่นเต้น ประหลาดใจ ตัวอย่างเรื่องสั้น ชายที่คนรักจากไป ของ
Haruki
Murakami
บางครั้งเราก็คงอยากจะดูตัวภาษาไทยทำงานแบบไหนได้บ้าง
ซึ่งคิดว่ามันน่าสนใจ เราต้องเล่นกับนวัตกรรมทางภาษาของไทยออกไปหลาย ๆ มุม ให้สม
กับความรุ่มรวย ความหลากหลายของภาษาไทย”

อ.ต้น เล่าอีกว่า ในการเขียน 8 เรื่อง
เขียนโดยมีคอนเซ็ปต์เล็ก ๆ และทั้ง 8 เรื่องจะเชื่อมโยงกันอยู่
ก็ถือได้ว่าเป็นความสนุกของคนอ่าน ที่จะค่อย ๆ ย่อยกันไป การเขียนเรื่องสั้นก็เหมือนการเล่นเกมส์ที่มันสนุกทั้งคนอ่านและเขียน
 แรงบันดาลใจในการคิดของแต่ละเรื่อง
ก็แตกต่างกันออกไป อย่างเดอะไบซิเคิลแมน ที่มาของเรื่องมาจากรูปถ่ายโฆษณากระเป๋าเอกสารในยุโรป
มีผู้ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ตรง
สะพานข้ามแม่น้ำเทมส์
ก็คิดว่า ถ้าผู้ชายคนนั้นไปตามหาความรักก็คงดี เป็นแรงบันดาลใจจากภาพเพียงภาพเดียว
วิธีการเอาแรงบันดาลใจมาใช้ แต่ละเรื่องก็มีข้อมูลที่มาแตกต่างกัน

ปัจจุบันการเขียนก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ถ้าคนเราได้เขียนสเตตัสบ่อยๆ
ก็อาจจะมีทักษะในการเขียน ได้ฝึกการจับประเด็น แต่พอขยายไปเป็นนิยาย เรื่องสั้น
อาจจะต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง ส่วนสิ่งสำคัญที่ต้องมีในเรื่องสั้นของ อ.ต้น หลักก็คือ
เราจะจบอย่างไร แต่จะจบรู้เรื่องหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง รู้ว่าเรื่องจะไปตรงไหนและหยุดตรงไหน
พูดง่ายๆ ถ้าลงไปเล่นบอล ยังไงไม่ว่าจะเหนื่อยจะแย่ขนาดไหน แต่อยู่ภายใต้ 90
นาที  รู้ว่าลิมิตของเกมอยู่ตรงไหน
ต้องเล่นเกมที่เรารู้ว่าจะจบยังไง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ถ้าเราตื่นเต้นกับมันมาก ๆ และเรายังอินกับเรื่องนี้อยู่ ก็ใส่ไปนวนิยาย นวนิยายถือได้ว่าเป็นทางออก
นักเขียนส่วนใหญ่จะเขียนทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย การจบทำให้เรารู้ว่า
เราสามารถสร้างพื้นที่ที่ชัดเจนได้ในระดับหนึ่ง  

 

ตะวันออกศอกกลับ  ชื่อเรื่องมาจาก ละครเวทีของคณะสถาปัตย์จุฬาฯ
“บางกอกศอกกลับ”  ที่พูดถึงชีวิตในกรุงเทพฯในมุมที่คนคิดไม่ถึง
สมัยนั้น ถือเป็นเรื่องที่ล้ำมากสำหรับนิสิตนักศึกษา โดยเล่มก่อนหน้านี้คือ เรื่อง
อาคเนย์คะนึง เป็นเรื่องของ
South east Asia ก็เลยคิดว่า จะเขียนอีกเล่มหนึ่ง
พยายามจะไม่ให้คนคิดถึง
South east Asia
ให้คิดถึงอะไรที่มันใหญ่กว่า

“คนทำอาหารจะมีสูตรคือ
ต้องชิม แล้วก็ปรุงใหม่ พอรสชาติไมได้ ก็เททิ้ง ทำใหม่
แต่การที่เราจะทำอาหารแบบนั้น แบบนี้ได้ เราต้องเคยกินอาหารแบบนั้นมาก่อน
ถึงจะรู้ว่า แบบไหนคืออร่อย ฉะนั้น การที่คุณจะเขียนหนังสือได้ดี คุณต้องอ่านหนังสือมามากพอ
ที่จะรู้ว่าหนังสือดีมันเป็นอย่างไร ถ้าอ่านน้อยจะไปเขียนหนังสือดีก็เหมือนกินมาน้อย
จะไปปรุงอาหารให้มีรสชาติดีมันก็ยาก ต้องสั่งสมประสบการณ์
ถ้าอ่านมากพอก็จะจับได้ว่า ต้องเขียนแบบไหน”

ส่วนภาวะการเขียนไม่ออก อ.ต้น ยอมรับว่า
เคยเกิดภาวะนี้เหมือนกัน มันก็เหมือนคนที่ชอบวิ่ง จะวิ่งทุกวันก็ไม่ไหว ก็ต้องไปว่ายน้ำ
หรือเล้นกีฬาอย่างอื่นสลับกันไป วิธีการใช้กล้ามเนื้อของคนออกกำลังกาย กับการเขียน
ก็ไม่ต่างกัน ถ้าเขียน ๆ อยู่แล้วรู้สึกล้า อยากให้คิดว่าไปทำอย่างอื่นก่อน
แต่ไม่ใช่การหนี  เช่น
เปลี่ยนไปอ่านหนังสือที่เราชอบ จะได้เห็นภาษาสวย ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากเขียน

“ลองสำรวจตัวเองว่า เวลาใดที่เราอยากตื่น
เวลาใดที่เราอยากนอน คนเราก็มีเรื่องน่าสนใจ เราชอบสร้าง
comfort Zone พื้นที่ปลอดภัย พอเราอยู่ไปสักพักก็จะรู้สึกเฉื่อย
ก็ต้องออกจากพื้นที่ปลอดภัย พอออกไปอยู่นอกพื้นที่ปลอดภัยนาน ๆ ก็จะกลับมาอยู่ในที่ปลอดภัยอย่างเดิม
แต่การออกจากพื้นที่ปลอดภัย เราก็จะสดชื่นขึ้น ไปเดินป่า
ไปทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำ”

 

#คิดระหว่างบรรทัด

เรื่อง : อภิชาติ บุรีวชิระ

เรียบเรียง : อริสรา ประดิษฐสุวรรณ

 

เข้าชม 29 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม