จากกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อนุมัติให้ทำการสืบสวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นในคดีการเสียชีวิตของ “แตงโม ภัทรธิดา” มีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ ตามที่เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุด (24 ม.ค. 68) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เปิดประชุมคดีแตงโม ภัทรธิดา เป็นนัดแรกที่ชั้น 1 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศูนย์ราชการ ฯ แจ้งวัฒนะ โดยมี “ณวัฒน์ อิสรไกรศีล – อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วยผู้เข้าประกวด มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2025 ร่วมงานแถลงด้วย
ทางพันตำรวจตรี ณฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ เปิดเผยก่อนจะเข้าประชุมหารือว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวน กรณีที่ “อัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์” ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม และภาคประชาชนได้มาร้องเกี่ยวกับมีการบุคคลบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะแบ่งหน้าที่กันทำงานภายในคณะสืบสวน หรือเรียกว่ากำหนดวิธีการสืบสวนสอบสวน เพื่อตรวจสอบข้อมูลตามที่ได้มีการสืบข้อมูลมาโดยเฉพาะจะเน้นไปที่การตรวจสอบตามหลักนิติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ เรื่องตำแหน่ง GPS บนเรือ /ข้อสงสัยเรื่องผลตรวจนิติเวช ที่พบมีเลือดออกที่กกหูสองข้าง /ตัวยาบางตัวที่สงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่าง ๆ / รวมถึงแกะรอบ ภาพ คลิปวิดีโอต่าง ๆ ในโซเชียล เพื่อนำมาวิเคราะห์และพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริง เพราะมีการไปแชร์เป็นจำนวนมาก และมีการบอกว่าตัวเองเป็นผู้ถ่ายภาพหรือจัดทำภาพ
สำหรับการใช้เลเซอร์จำลอง 3 มิติ ทางดีเอสไอจะลงพื้นที่ไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาสถานที่เกิดเหตุ เป็นเหมือนการไปตรวจที่เกิดเหตุเพื่อมาประกอบกับการให้ถ้อยคำของพยานแต่ละราย โดยจะมีการล่องเรือ และจะมีการใช้เครื่องมือพิเศษด้วย และจะประสานไปยังภาคเอกชนที่มีเครื่องมือที่จะมาร่วมตรวจสอบความถูกต้องด้วย
นอกจากนี้ จะมีการกำหนดกลุ่มพยานเพื่อสอบสวนปากคำ และเชิญมาให้ข้อมูลในสัปดาห์หน้า แบ่งเป็น กลุ่มพยานแรก พยานริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนที่รู้เกี่ยวกับภาพจากกล้องวงจรปิด หรือเห็นเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ /และกลุ่มผู้ร้องที่แจ้งว่าจะมีการนำพยานอีกหลายกลุ่มเข้ามาให้คณะสืบสวนได้ทำการสอบปากคำ
ทั้งนี้จะระดมกำลังเจ้าหน้าที่ดีเอสไอผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้านเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ด้านระบบ GPS ด้านโทรศัพท์การสื่อสาร ด้านปฏิบัติการพิเศษ ด้านแผนที่ ส่วนวิเคราะห์ข่าว ด้านการคุ้มครองพยาน ด้านกฎหมาย ความรู้เรื่องนิติวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านหมอ เป็นต้น และเมื่อรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้วจะประมวลเรื่องเสนอไปอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
นอกจากนี้ ช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ คณะทำงานจะเดินทางไปต่างประเทศในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อไปเก็บข้อมูลในโทรศัพท์ของแตงโม และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคดี ไม่ว่าจะอยู่บนเรือหรือนอกเรือ เนื่องด้วยพบว่าข้อมูลหลายอย่างถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ระบบ Cloud หรือคลาวด์ ของผู้ให้บริการนั้น ๆ โดยจะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 หรือ MLAT และใช้สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้
สำหรับกรอบการสืบสวนในคดี มีระยะเวลา 6 เดือนจริง แต่สามารถขยายระยะเวลาต่อได้ พร้อมย้ำการสืบสวนครั้งนี้ของดีเอสไอจะไม่ไปยุ่งหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ถูกดำเนินคดีในสำนวนหลักซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการชั้นศาล จะมุ่งเน้นสืบสวนไปที่มีการร้องขอว่า “มีกลุ่มที่บิดเบือนในการกระทำครั้งนี้ หรือมีการสร้างพยานหลักฐานเท็จหรือไม่ อย่างไร”
โดยสัปดาห์หน้า จะเชิญผู้ร้อง “อัจฉริยะ” มาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เก็บข้อมูลและคลิปต่าง ๆ ที่อยู่บนโซเชียล ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์และพิสูจน์ให้กับสังคม หากได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด
ด้าน นายไกรศรี สว่างศรี ผอ.ส่วนแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยถึงการเตรียมการจำลอง 3 มติ ในคดีแมงโม ว่า คณะพนักงานสืบสวน จะใช้เครื่องมือ Lidar หรือ Laser scanning เพื่อสแกนเพื้นที่เกิดเหตุแบบ 3 มิติ ครอบคลุมเส้นทางเดินเรือทั้งหมด และตำแหน่งเกิดเหตุการเพื่อจัดทำภาพจำลองพื้นที่เกิดเหตุแบบเสมือนจริง หรือ Crime Scence : CSI หลังจากนั้นจะนำข้อมูลดิจิทัลแบบเสือนจริง นำเสนอคณะพนักงานสืบสวน เพื่อรวบรวพยานหลักฐานต่อไป
เริ่มใช้เลเซอร์สแกนตรวจสอบพิกัดตั้งแต่ร้านอาหารบ้านตานิดไปจุดถึงสะพานพระราม 8 ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ และใช้โดรนเก็บข้อมูลด้วยเป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมดภาพทั้งพื้นน้ำและภาคพื้นอากาศ
จะสแกนตามลำน้ำทั้งหมด เพื่อนำมาผ่านกระบวนการคอมพิวเตอร์หาพิกัดแบบภูมิศาสตร์ และจะนำมาตรวจสอบกับพยานหลักฐานต่าง ๆ เช่น คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย ในโซเชียล ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีเอสไอนำมาใช้ในการตรวจสอบ
พร้อมมั่นใจการใช้เลเซอร์สแกน 3 มิติ ช่วยในการจำลอง มีความแม่นยำสูงในระดับเซนติเมตร หรือมิลลิเมตร เป็นการสแกนทุกจุดโดยละเอียด
ภาพ : melonp.gallery