เรามาถึงจุดนี้ได้ไง? “ป๋อ ณัฐวุฒิ” ขำไม่ออก ไม่เข้าใจเนื้อเพลงใส่คำหยาบคาย แต่คนมองเป็นเรื่องสนุกสนาน

ทำเอาคุณพ่อลูก 2 “ป๋อ ณัฐวุฒิ” รู้สึกไม่ขำด้วย เมื่อเพลง “คนจนล่ะมีสิทธิ์ไหมคะ” ที่ดัดแปลงเนื้อร้องจากเพลง “สมองจนจน” ของ มืด ไข่มุก (วงพลอย) ขับร้องโดย เดือนเพ็ญ เด่นดวง หมอลำซิ่งจากคณะทิวลิป เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เมื่อช่วง 30 ปีก่อน ซึ่งเนื้อเพลงนอกจากจะมีการแบ่งแยกชนชั้นในสังคมแล้วและคำหยาบคายที่ใช้เรียกอวัยวะเพศอย่างชัดเจน แต่กลับมีเยาวชนและคนไทยมากมายที่นำไปคัฟเวอร์กันอย่างสนุกสนาน และมองว่าเป็นเรื่องตลกขบขัน ทั้งที่มันส่งผลกับลูกหลานตัวเล็ก ๆ ที่ยังไม่เข้าใจว่าสิ่งไหนเหมาะ สิ่งไหนไม่เหมาะ และอาจจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็พูดกัน


ผ่านเฟซบุ๊กเพจ : ป๋อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ระบุว่า “ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี!!……พยายามเข้าใจนะว่าผมอาจจะมาจากดาวดวงอื่น แต่ดันมีชีวิตมาจนถึงต้องอยู่อาศัยบนดาวดวงนี้ พยายามเข้าใจมาตลอด แต่หลายสิ่งที่รับไม่ได้จริง ๆ แล้วไม่ตลกด้วย คือ-มีการร้องเพลง แล้วใส่คำว่า..ี ,….ย(อวัยวะเพศหญิง-ชาย)ในเนื้อเพลง แล้วก็เห็นว่าเป็นเรื่องตลก ขบขัน ผมว่า มันหยาบคาย หยาบโลน ตื้นเขิน ไม่รับผิดชอบ และกังวลว่าเด็ก ๆ ในวัยที่ยังไม่พร้อม มาเปิดดูคลิปเพลงพวกนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใคร ๆ ก็พูดกัน ใคร ๆ ก็ร้องกัน เราร้องบ้างดีกว่า สนุกดี ฮาดี……..เอาจริงดิ นี่เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไงกันครับ ผมไม่ได้โลกสวยนะ แต่ใครช่วยตอบผมที #ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังอยู่ในใจ เอาไว้มาระบายให้ฟังละกัน วันนี้เอาไปเรื่องเดียวก่อนนะ”

ซึ่งก็มีเสียงสะท้อนจากพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเชิงเห็นด้วยกับ “ป๋อ” ซะส่วนใหญ่ อาทิ “จริงนะ บ้านนี้พอเผลอกดเจอ อยู่กับหลานรีบออกตลอด กลัวหูมาได้ยิน หลาน5ขวบ 😓😓/จริงค่ะ เห็นด้วย ทำไมเค้าฟังกันเป็นเรื่องปกติ แต่เราฟ้งแล้วตกใจมากกว่า มันต้องขนาดนี้เลยเหรอ🙄🙄/เห็นด้วยค่ะ ห่วงเด็ก ๆ ที่รับสื่อพวกนี้ ไม่ขำเลยจริง ๆ 😳/เห็นด้วยมาก ๆ ค่ะ เพลงที่พี่ป๋อพูดถึงตอนนี้คือเปิดกันทั่วบ้านทั่วเมือง อีกอย่างที่รับไม่ได้สุด ๆ คือการเอาเด็กมาเต้นท่าแบบนั้น มันไม่น่ารัก ไม่เคยกดถูกใจคลิปเด็กเต้นท่า twerk เลยนะ บางครั้งก็งงว่าทำไมผปค.ถึงเอามาโพส มันไม่ได้น่ารักสมวัยเลย เป็นการทำร้ายลูกตัวเองเปล่า ๆ/ถูกต้องครับ คนรักดนตรีหรือกวีบนเนื้อเพลงจะรังเกียจกับเพลงพวกนี้เป็นอย่างมากครับ ตัวผมเองไม่เรียกพวกนี้ว่าเพลงหรือดนตรีเลยด้วยซ้ำ/อันที่จริงกูมึงหรือคำไม่สุภาพก็ได้ยินบ่อย ๆ เวลาพิธีกรรายการพูด ในทีวียูทูบ มันก็ดูไม่น่าฟัง แต่เข้าใจได้ว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป การพูดหยาบในที่สาธารณะการวิจารณ์ หยาบคายต่าง ๆ อาจจะไม่ได้วัดระดับความเป็นคนดี แต่การพูดจาดี ไพเราะน่าฟัง มันจะดีกว่ามั้ย🥹 ได้ยินอะไรบ่อย ๆ อาจจะซึมซาบพฤติกรรมนั้นโดยไม่รู้ตัวจริง ๆ ค่ะ/เจอเพื่อนที่หนีมาพร้อมกันแล้ว..555…ดาวโลกยุคนี้..อาจจะไม่เหมือนที่เราเคยอยู่เหมือนอดีตอีกต่อไปแล้ว…เด็กรุ่นใหม่บ้างคนถึงไม่ยอมแต่งงาน ไม่อยากมีลูก…เพราะโลกยุคนี้โหดร้ายเกิ้น” ฯลฯ.-ไนน์เอ็นเตอร์เทน


เข้าชม 77,651 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม