การเติบโตของธุรกิจ
Startup ในประเทศไทยนั้นมีทิศทางเป็นอย่างไรและส่งผลต่อองค์กรใหญ่
หรือแม้กระทั่งบุคคลธรรมดาอย่างไร
สามารถร่วมหาคำตอบได้กับรายการ ECON Bizz โดยที่ได้
รับเกียรติมาพูดคุยกับคุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
กรรมการผู้จัดการหัวสมัยใหม่และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์
Tarad.com เพื่อเผยแพร่มุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและปัจเจกบุคคล
คนส่วนใหญ่อาจจะตั้งคำถามว่าทำไมประเทศไทยถึงไม่มี
Unicorn Startup หรือบริษัทสตาร์ท-
อัพที่ประสบความสำเร็จเป็นหมื่นล้าน
นั่นเพราะว่าในแง่ของห่วงโซ่อุปทานการทำธุรกิจในประเทศไทย
สตาร์ทอัพขาดช่วงไป
เพราะโดยปกติแล้วในตอนเริ่มต้นบริษัทที่มีคนมาลงทุนเยอะจะมีคนมาช่วยใน
เรื่องลงทุนโดยคนกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า Angel Investor
เมื่อกลุ่มสตาร์ทอัพมีเงินทุนก็ขยายโอกาสเติบ
โตมากขึ้น และผู้ที่มารับไม้ต่อ Angel Investor
คือกลุ่มนักลงทุนที่เป็น Major Capital สองสิ่งนี้ทำให้
เกิดความต่อเนื่อง
แต่เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานของไทยขาดผู้ลงทุนกลุ่มแรกไป ทำให้สตาร์ทอัพหลาย
แห่งไม่สามารถเดินไปต่อไป
อีกทั้งยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีเงินเก็บเพื่อลงทุนประมาณ 5 แสนถึง 1 ล้านว่า การลงทุนในธุรกิจนี้น่าสนใจโดยเฉพาะในธุรกิจที่ถนัด
เพราะเราไม่ได้ให้แค่เงินแต่เป็น
คำแนะนำช่วยให้สตาร์ทอัพขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้
อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐก็เบาบางลงกว่าเมื่อก่อน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ agenda
แต่ในขณะเดียวกันนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังปั้นตลาดสำหรับธุรกิจพึ่งเกิดใหม่
ทำให้
เกิดการระดมทุนระหว่างกลุ่มธุรกิจใหม่และการเข้าถึงผู้คนมากขึ้น
เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงแหล่ง
เงินทุนได้มากขึ้นและมีโอกาสเติบโตมากขึ้น
คุณภาวุธยังพูดถึงประเด็น Product Transformation ที่พูดถึงวิธีคิดแบบใหม่ของการผลิตสินค้า
และบริการในสมัยนี้นั้นเกิดจากลูกค้า จริงอยู่ที่ว่าการทำ Customer
Survey นั้นอาจจะให้คำตอบแก่
สินค้าและบริการของเรา
แต่อาจจะไม่ใช่ความต้องการทั้งหมดของผู้บริโภค ดังนั้นการศึกษาและ
สังเกตพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคคือคำตอบทั้งหมดของการผลิตสินค้าและบริการของเราเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
การสร้างทีมก็เป็นส่วนสำคัญในการปรับตัวขององค์กรใหญ่ในยุคปัจจุบัน
องค์กรในยุค
อุตสาหกรรมนั้นจะมีโครงสร้างเป็นลำดับชั้น (Hierarchy) ซึ่งแตกต่างกับองค์กรที่ใช้นวัตกรรม คุณภาวุธกล่าวไว้ว่าองค์กรแบบนี้จะมีลักษณะเป็น
business unit ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นของตัวเอง
โดยในทีมจะไม่มีการแบ่งฝ่าย และมีโค้ชคอยแนะนำทีม
รวมถึงสิ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรนี้ไม่ใช่เม็ดเงิน แต่กลับเป็น passion ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกท้าทายตัวเองและสนใจที่จะมีส่วนร่วมในองค์กร
พร้อมทิ้งท้ายข้อความในเรื่องของการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าไว้สามอย่างคือ 1.
การจะทำอะไรนั้น อย่าคิดขึ้นมาเอง ใช้วิธีสังเกตมากกว่าการถาม 2.
ปรับตัวเองให้เร็วและปรับโครงสร้างองค์กร
3. สินค้าและบริการจะปรับให้สอดคล้องกับปัจจุบันมากขึ้น
เนื้อเรื่อง อักษราภัค
จันทรศิริ
เรียบเรียง ชาญเดช บัวหันต์