ทางรอดSMEsไทย และ 4 ปัจจัยที่ทำให้ค้าปลีกไทยไม่เติบโต


            เศรษฐกิจไทยในปี 62 กำลังส่อแวววิกฤต อาจเป็นช่วงขาขึ้นของหลาย ๆ ธุรกิจ
แต่อีกหลาย
ธุรกิจกำลังตกที่นั่งลำบาก โดยเฉพาะธุรกิจการค้าปลีกในไทยที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังไม่เติบโต
เป็นโอกาสดีที่ทาง Econ Bizz ได้เชิญ คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
มาเล่าถึง 4 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของการทำให้ค้าปลีกไทยไม่เจริญและให้รายละเอียดรวมทั้งชี้แนวทางการแก้ไขเพื่อช่วยเหลือธุรกิจการค้าปลีกของไทยให้อยู่รอดและเติบโตต่อไป

              
ปัจจัยที่ 1 :
โครงสร้างภาษีที่ไม่ถูกต้อง


            การมีโครงสร้างภาษีที่ไม่ถูกต้อง คืออุปสรรคสำคัญของการค้าปลีกในไทย
เพราะปัจจัยนี้ผู้ค้าปลีกไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองแต่ต้องรอให้รัฐบาลเป็นผู้จัดการและแก้ไข
สินค้า
Luxury หรือสินค้า
แบรนด์เนม เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวมองว่าเป็นเสน่ห์ของการไปเยือนประเทศนั้น ๆ
แต่รัฐบาลและนักวิชาการบางท่านมองว่าสินค้าแบรนด์เนมนี้ไร้สาระ ทำให้คนไทยเกิดความฟุ่มเฟือย
แต่ในปัจจุบันสินค้า
Luxury กลายเป็นสินค้า Lifestyle
ของใครหลายคน แต่กลับมีภาษีที่สูง ทางแก้ปัญหาส่วนนี้คือรัฐบาลไทยควรปรับลดโครงสร้างภาษีให้เหมาะสม
เพราะเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซียและกัมพูชา มีการปรับลดโครงสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ยิ่งตอนนี้มีการค้าเสรีทำให้มีสินค้าหลากหลายประเทศเข้ามาอย่างล้นหลามแต่เนื่องจากว่ามีภาษีที่ค่อนข้างสูง
จึงมีคนมาซื้อไม่มากและหันไปชอปปิงที่ต่างประเทศแทน ปัจจุบันพบว่าคนไทยเดินทางไปชอปปิงที่ต่างประเทศกว่า
20 เปอร์เซ็นต์ของทุกปี เป็นผลให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้ไป

              
ปัจจัยที่ 2 : Duty Free หรือ
ร้านปลอดภาษี

            ปัญหานี้คือรัฐบาลเปิด Duty Free
ให้คนไทยได้ช็อปปิ้งอย่างง่ายดาย แต่ในความเป็นจริงสินค้า
Duty Free ในหลาย ๆ ประเทศมีไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงไม่อยากซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าในไทย
แต่ไปซื้อที่ต่างประเทศแทน เพราะนอกจากจะได้ชอปปิงแล้วยังจะได้ท่องเที่ยวอีกด้วย
ห้างค้าปลีกที่จ่ายภาษีทั้งหมดจึงเสียเปรียบห้างที่ไม่ต้องเสียภาษี ทำให้ธุรกิจการค้าปลีกไม่เจริญเติบโตเกิดเป็นปัญหาสำหรับธุรกิจการค้าปลีกในไทยที่ไม่ใช่
Duty Free


 

              
ปัจจัยที่ 3 : Gray Market

            ปัจจัยในข้อนี้สืบเนื่องมาจากปัจจัยข้อแรกและข้อ
2 ทำให้คนไทยเคยชินที่จะซื้อสินค้าราคาถูก
จึงเกิดเป็น
Gray
Market ตลาดออนไลน์ขึ้นมากดดันทำให้ธุรกิจค้าปลีกในไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร
ผู้ซื้อ
และผู้ขายผ่านทางออนไลน์ไม่ต้องเจอหน้ากัน และเหล่าร้านค้าพรีออเดอร์ใน
Website
หรือ Social Media ต่าง ๆ
มักขายสินค้าที่รับมาจากต่างประเทศโดยไม่ต้องมาเสียภาษีอย่างถูกต้อง

              
ปัจจัยที่ 4 : รัฐไม่คุมยักษ์ใหญ่ออนไลน์ต่างชาติ

            การค้าปลีกทั่วโลกถูก E-Commerce เข้ามาแทรกแซง
และมาพร้อมกับโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม คุณวรวุฒิ ได้กล่าวว่าในช่วง 20
กว่าปีที่ผ่านมา
Modern Trade หรือธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
มีการเติบโต
ในช่วงนั้นกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในหันมาจับตามองธุรกิจการค้าปลีก
หากเห็นว่าขายในราคาที่ต่ำกว่าทุน ทางกระทรวงจะจัดการอายัดทันที
แต่เมื่อตลาดออนไลน์กำลังรุ่งเรือง
กลับไม่สนใจและไม่จัดการเรื่องของการจัดโปรโมชั่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ถูกตรวจสอบหรืออายัดจากกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายใน

            ดังนั้นปัจจัยในข้อที่ 4
นี้จึงส่งผลกับคนที่ทำงานในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ
Modern Trade เพราะในอนาคตคนที่ทำงานในส่วนนี้มีโอกาสตกงาน
เนื่องจากการลงทุนการค้าปลีกในไทยลดลง
อุตสาหกรรมไทยอาศัยการค้าปลีกเป็นแหล่งจำหน่าย
ถือเป็นหน้าด่านที่ปล่อยสินค้าไปตลาด ถ้าห้าง
ค้าปลีกมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยและส่งผลต่อสินค้าการผลิตอุตสาหกรรมของไทย
รวมทั้งทำให้เกิดปัญหาแรงงานตามมา

            จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สิ่งที่เป็นสาเหตุหลักและควรรีบแก้ไขที่สุดคือการปรับลดโครงสร้างภาษี
คุณวรวุฒิยังกล่าวทิ้งท้ายว่า หากรัฐบาลสามารถแก้ปัญหาโครงสร้างภาษีนี้ได้สำเร็จ
ปัจจัยข้ออื่น ๆ
ที่เหลือก็จะสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เพราะปัจจัยเหล่านี้สืบเนื่องมาจากปัญหาของโครงสร้างภาษี

หากรัฐบาลสามารถปรับโครงสร้างภาษีและมี
Duty Free ที่หลากหลาย
ก็จะช่วยทำให้จำนวนเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 500
ล้านบาท

เนื้อเรื่อง             ชญาภา บุบผะศิริ

เรียบเรียง           ชาญเดช บัวหันต์

เข้าชม 106 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม