ปี 2019 โลกจะร้อนขึ้น ?


ปี 2019 ก็จะเป็นปีที่โลกจะป่วนมากกว่าปี 2018 และประเทศไทยก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งภาวะแบบนี้ ประชาชนก็ไม่รู้จะเอาอย่างไร อยากจะมีคนที่เป็นผู้นำทางความคิด ทั้งนี้
คุณวิกรม กรมดิษฐ์  ก็เป็นผู้นำทางความคิด
ที่พูดแล้วคนฟัง  จึงนำเอาประเด็น มองโลก
มองไทย ปี 2019 โลกจะเป็นอย่างไร ทิศทางใด มาพูดคุยกัน

            คุณวิกรม ยอมรับว่า ในปี 2019
โลกจะร้อน ร้อนขึ้น ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ พูดในการประชุม
เศรษฐกิจประจำปี
หรือ  
World Economic Forum (WEF) ที่เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 2225 ม.ค. 2562 เป็นเรื่องเดียวกับที่องค์การสหประชาชาติประกาศเมื่อต้นปีที่แล้ว ว่า
ปี 2030  โลกจะร้อนกว่าปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก
1.5 องศา และจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันโลกเข้าสู่ขั้นวิกฤต แล้วถ้าเกิดอุณหภูมิสูงอีก
1.5 องศา โลกจะยิ่งกว่าวิกฤต เรียกว่าล่มสลายแล้ว


“คำว่า ล่มสลายของโลกนี้ หมายถึงทุกอย่างปั่นป่วนไปหมด เช่น หน้าร้อนก็จะร้อนสุด
ๆ เหมือนตอนนี้ ยังไม่ถึงปี 2030 ออสเตรเลีย มีสัตว์ป่าตายเป็นจำนวนมาก
เพราะอากาศร้อน  มีน้ำไม่เพียงพอ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ก็ตายหมด หรือแม้กระทั่งที่รัฐ
แคลิฟอร์เนีย เกิดไฟป่าอย่างรุนแรง ทั้งที่รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีความอุดมสมบูรณ์
ในแง่ของเศรษฐกิจ ในอดีตเคยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก บางเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น
คือความวิปริต เช่น อิรัก และซาอุดิอาระเบีย ที่เกิดน้ำท่วมในทะเลทราย ขณะที่ ชิคาโก้
อุณหภูมิ -50 องศา เท่ากับขั้วโลก กลายเป็นว่าทุกอย่างที่มีชีวิตอยู่ ถ้าไม่มีอุณหภูมิที่ดีและเหมาะสม
อยู่ข้างนอกตายหมดเลย หมายความว่า ร้อนก็ตาย หนาวก็ตาย น้ำท่วมก็ตาย”
คุณวิกรมอธิบายอย่างละเอียด

และวิเคราะห์ต่อไปว่า  ยังไม่ถึงปี
2030 ยังวิปริตขนาดนี้  ถ้าหากปี 2030
เกิดอุณภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศา ประเทศที่อยู่ลุ่มแม่น้ำทั้งหมดในโลก น้ำจะท่วม
เพราะน้ำแข็งที่นิวซีแลนด์ละลาย น้ำแข็งที่ขั้วโลกเริ่มแยกตัวออก เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
เมื่อสูงขึ้นอีก 1.5 องศา ก็ละลายไปหมดไม่มีเหลือ
เมื่อน้ำแข็งละลายก็ไหลมาสู่ทะเล  ระดับน้ำทะเลก็ปริมาตรสูงขึ้น
 

สำหรับที่ประเทศไทย ชาวบ้านเคยไปขุดเจอซากหอยซากปูที่จังหวัดสุโขทัย เพราะระดับน้ำของโลกสูงขึ้น
แต่ต่อมาลดลงมาถึงระดับน้ำทะเลปัจจุบัน เพราะว่าอุณภูมิเย็นขึ้น หรืออย่างช้างแมมมอสเมื่อก่อนอยู่ที่ไซบีเรียเพราะอุณภูมิที่เหมาะสม
แต่หลังจากนั้นแมมมอสก็ตายหมด เพราะอุณหภูมิเย็นขึ้น ส่งผลให้ไอน้ำจากน้ำทะเลระเหยขึ้นไปข้างบนในบริเวณที่เกิดมาเป็นฝนก็ไหลกลับมาลงทะเล
 ส่วนบริเวณที่เป็นที่เย็น ก็ตกมาเป็นหิมะ
เกาะตัวกันหลายเป็นธารน้ำแข็ง แต่พอร้อนขึ้น น้ำแข็งก็ละลาย
ระดับน้ำทะเลก็ยกสูงขึ้น ลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ต้องกระทบอย่างแน่นอน น้ำทะเลเข้าแทรก
น้ำที่เคยใช้ต่าง ๆ จะเริ่มมีรสเค็ม


ที่สำคัญที่สุด ตอนนี้ ก็จะเกิดพายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น
เกิดทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกาบ่อยขึ้น หรือแม้แต่พายุไต้ฝุ่นที่แรงขึ้น
ขนาดยังไม่ถึงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเลย แต่ก็มีลุ่มน้ำในประเทศไทยยังไม่เกิดปัญหา
คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เพราะมีเขื่อนที่กักเก็บน้ำไว้จำนวนมาก  ซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยจะได้ยินว่า ราชบุรี หรือ
กาญจนบุรี น้ำท่วม เพราะมีเขื่อนช่วยล็อกน้ำไว้ ฉะนั้น ถ้าอีก 11 ปี อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
1.5 องศา ต้องเหนื่อยกันมากขึ้นแน่นอน

คุณวิกรม อธิบายอีกว่า จากสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้
ทำให้ทั่วโลกร่วมกันพัฒนา เว้นแต่สหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาไม่เชื่อเรื่องโลกร้อน ไม่สนใจร่วมลงนามสนธิสัญญาปารีส
ทั้งที่คนอเมริกาใช้น้ำมันดิบจำนวนมากและปล่อยมลภาวะออกมามาก เพราะกลัวจะเสียประโยชน์  ขณะที่จีน ตระหนักว่า
ได้สร้างความเสียหายให้โลกเหมือนกัน เพราะคนจีนใช้ถ่านหินมานานเป็นพัน ๆ ปี
แต่ขณะนี้ ได้พัฒนาพลังงานทดแทน พลังงานสีเขียว ผลิตโซลาร์เซลล์ใหญ่ที่สุดในโลก
มีกังหันลมมากที่สุดในโลก ปลูกต้นไม้มากที่สุดในโลก ใช้รถยนต์แลรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
จำกัดโซนสำหรับรถมอเตอร์ไซค์

สำหรับประเทศไทยมีประชากรแรงงาน 39 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ  66 ล้านคน โดยอยู่ในภาคเกษตร 20 ล้านคน
แต่รายได้จากภาคเกษตรเพียงแค่ 9
% และใช้ที่ดินไป 137 ล้านไร่ 
ซึ่งภาคเกษตรต้องใช้ทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า และฮอร์โมน
เมื่อฉีดไปก็ซึมลงดิน ฝนตกก็ไหลลงคลอง ไปสู่แม่น้ำ ไปสู่อ่าวไทย
เมื่อเราจับสัตว์ทะเลมากิน ก็ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดโรคต่าง ๆ โรคใหม่มากขึ้น

“ที่นิคมอมตะนคร ไม่มีน้ำเสีย
เพราะเรานำน้ำเสียมาบำบัดและรีไซเคิลใช้เป็นน้ำประปา นำไปใช้ในโรงไฟฟ้าและโรงงานต่าง
  ส่วนขยะก็นำไปทำไฟฟ้า ทำถนน รวมถึงมีเครื่องตรวจวัดอากาศ
เรามีใช้มานานแล้วกว่า 20 ปี ที่นิคมอมตะนครไม่มีฝุ่น
PM 2.5
เพราะไม่มีโรงงานที่ปล่อยควันเสีย เราไม่รับโรงงานเหล่านั้น”

 

#ThinkingNetwork

เรื่อง
: อภิชาติ บุรีวชิระ

เรียบเรียง
: อริสรา ประดิษฐสุวรรณ

 

 

เข้าชม 25 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม