จับตาภาษีขายสินค้าออนไลน์

จับตาภาษีขายสินค้าออนไลน์

ยังอยู่วนอยู่เกี่ยวกับเรื่องภาษี  แต่เป็นเรื่องภาษีขายสินค้าออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันนี้ธุรกิจในโลกออนไลน์ขยายตัวอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง   แน่นอนว่าจึงเป็นอีกแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกแหล่งที่กรมสรรพากรจับตามองอยู่


หลายปีที่ผ่านมาสังคมออนไลน์ในบ้านเราเติบโตขึ้นมาก เหล่าพ่อค้าแม่ค้าหัวก้าวหน้าจึงพากันขยับมาขายของผ่านเซียลกันเพียบ โดยเฉพาะเฟซบุ๊คและอินสตาแกรม เพราะนอกจากจะไม่ต้องเสียเงินเปิดร้านและตกแต่งสถานที่แล้ว ยังสะดวกสบายไม่ต้องตื่นแต่เช้าไปนั่งขายของอีกต่างหาก // แค่สร้างหน้าร้านผ่านเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม หรือเว็บไซต์ของตัวเองไว้แล้วก็นอนรับออเดอร์อยู่ที่หน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ โดยทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ก็มีรับเงินสดๆ หมุนเวียนเข้ากระเป๋าทุกวัน // ไปๆ มาๆ ตอนนี้ก็มีพ่อค้าแม่ขายที่ยึดโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นตลาดหลักอยู่นับแสนรายเลยทีเดียว รวมถึงเหล่าคนในวงการบันเทิงเองก็โดดมาหารายได้เสริมกับการขายสินค้าออนไลน์ด้วย  

ในขณะที่ธุรกิจออนไลน์ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดแถมสร้างรายได้ให้ผู้ค้ามหาศาล แต่ในทางกลับกันพอถึงเวลาเรียกเก็บภาษีเข้ารัฐ กลับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งๆ ที่มีการเริ่มเก็บมาตั้งแต่ปี 2554 // ดังนั้นเมื่อไม่นานมานี้ กรมสรรพากรจึงส่งหนังสือถึงผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ส 500,000 รายทั่วประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงหน้าที่ผู้เสียภาษีอย่างถูกต้อง
 
นางเอกสาว แพนเค้ก เขมนิจ ซึ่งประกอบธุรกิจขายเสื้อผ้าผ่านอินสตาแกรมไปพร้อมๆ กับรับงานแสดงก็บอกสั้นๆ ว่าเธอปฏิบัติตามหน้าที่พลเมืองดี จ่ายภาษีอย่างถูกต้องอยู่แล้ว


นักแสดงสาว นาตาลี เดวิส ซึ่งขายสินค้าและขนมผ่านอินสตาแกรม ก็เผยว่าเธอทราบเรื่องที่ต้องจ่ายภาษีขายสินค้าออนไลน์อยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเธอจ่ายภาษีอย่างถูกต้องอย่างไม่คิดจะหลบเลี่ยง เนื่องจากดารานักแสดงมักถูกจับตามองเรื่องนี้อยู่เสมอ //โดยมีคุณแม่ของเธอคอยดูแลเรื่องนี้ให้ เพราะคุณแม่เคยทำงานด้านบัญชีมาก่อน

ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ คือการเปิดร้านค้าออนไลน์ต้องมีการลงทะเบียนรายงานรายได้ต่อสรรพากรแม้จะเป็นร้านค้าเล็กๆ ก็ตาม เพราะยังไงซะก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้ โดยจัดเป็นประเภทเดียวกับธุรกิจขายตรง ผู้ค้าจะต้องไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ด้วย เพราะหากผู้บริโภคร้องเรียนเช่น สั่งสินค้าไปแล้วไม่จัดส่งให้ //สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือชำรุดเสียหาย จะได้ตรวจสอบและติดตามผู้ประกอบการได้
ซึ่งหากร้านค้าไม่ไปขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงกับ สคบ. อาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่  //นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อออกเครื่องหมายการจดทะเบียนให้กับผู้ประกอบการด้วย หากฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

เข้าชม 13 ครั้ง


ดูข่าวเพิ่มเติม