สกู๊ป : การจบชีวิตของนักมวยปล้ำสาว เสียงสะท้อนจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในแดนอาทิตย์อุทัย

ข่าวการเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้ของ “ฮานะ คิมูระ” นักมวยปล้ำและดาราเรียลลิตี้สาวแสนร่าเริงผมสีชมพูวัย 22 ปี เป็นการจุดประกายให้เห็นถึงการเติบโตของการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่น โดย “ฮานะ”ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกรายการเรียลลีตี้ชื่อดัง “Terrace House” ตัดสินใจจบชีวิตในบ้านตัวเองในวันที่ 23 พฤษภาคม หลังจากที่ได้รับคอมเมนต์ด้านลบจำนวนมากในโซเชียลมีเดียของเธอเอง


.

เส้นบางๆ ระหว่างจากวิจารณ์ VS ละเมิด


การอภิปรายสาธารณะชนที่ก่อให้เกิดความตระหนักอย่างรวดเร็วถูกกระตุ้นด้วยการจากไปของ “ฮานะ” รัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรู้เสียงเหล่านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาและกำลังพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อช่วยเหลือเหยื่อของการกลั่นแกล้งให้ได้รับความยุติธรรม “จุนโกะ มิฮาระ” สมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตย ผู้นำในทีมช่วยเหลือการคุกคามในโลกออนไลน์เผยว่า “คนเราควรเข้าใจเส้นที่กั้นระหว่างการวิพากวิจารณ์ และการโกหกที่เป็นการละเมิด”

การจบชีวิตของ “ฮานะ” นั้นจุดประกายให้เห็นว่าชาวญี่ปุ่นได้ใช้เวลามากกว่าเดิมไปกับอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 เหล่าคนดัง ,นักการเมือง และบริษัทต่างๆ ถูกนำมาเป็นหัวข้อการวิพากษ์วิจารณ์

.


ญี่ปุ่น ประเทศที่มีมาตรการป้องกันการคุกคามทางออนไลน์ต่ำที่สุด

ในปี 2018 การสำรวจของบริษัท Ipsos เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นอยู่ในอับดับที่สูงสุดใน 28 ประเทศที่มีมาตรการการป้องกันการระรานทางไซเบอร์ไม่เพียงพอ และท่ามกลางการตระหนักของสาธารณะที่ต่ำที่สุดในการคุกคามทางออนไลน์นั้น ข้อมูลจากรัฐบาลได้แสดงให้เห็นว่าตัวเลขของการถูกระรานทางไซเบอร์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในรอบ 4 ปี

.

กฎหมายแสนล้าหลัง

ก่อนหน้านี้การขอความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับเหยื่อนั้น กระบวนการอันยืดเยี้อของศาลบังคับให้ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตระบุตัวตนของผู้โพสต์นิรนามให้ได้ก่อนที่จะสามารถฟ้องร้องได้ ซึ่งป็นกฎหมายยาวนานมาตั้งแต่ปี 2001 ก่อนที่ทวิตเตอร์ หรือเฟสบุ๊กจะเกิดขึ้นมาเสียอีก

แต่ตอนนี้ทั้งผู้เชี่ยวชาญและเหยื่อที่ถูกคุกคามต่างได้รับการเชื้อเชิญจากนักการเมืองเพื่อช่วยปรุงปรุงกฎหมายฉบับนี้ “ไดสึกิ สึทาดะ” นักเขียนที่มีผลงานเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียเผยว่า “ในโลกอินเทอร์เน็ต ความสมดุลระหว่างอิสรภาพในการพูดและศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นถูกแขวนไว้อย่างที่เท่ากัน แน่นอนว่าไม่มีการปกป้องศักดิ์ศรีส่วนบุคคลมากพอ” และเตือนให้มีกฎระเบียบที่สามารถอนุญาตให้หน่วยงานกำกับดูแลเนื้อหาบนโซเชียล เลือกที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายซึ่งจะช่วยให้กระบวนการระบุตัวผู้โพสต์นิรนามได้รวดเร็วขึ้น

.

ผิดครั้งเดียวถูกเหยียดถึงตาย

“ฮานะ คิมูระ” ลูกครึ่งอินโดนีเซีย-ญี่ปุ่น เป็นสมาชิกในรายการเรียลลิตี้ “Terrace House” ในซีซั่นล่าสุดซึ่งออกอาการทาง Fuji Television และยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการสตรีมมิ่งทาง Netflix โดยเกี่ยวกับการอยู่ร่วมบ้านของคนแปลกหน้า 6 คน โดยรายการนี้นั้นดำเนินไปอย่างสุภาพและไม่มีเรื่องดราม่าตามแบบฉบับของเรียลลิตี้ทั่วไป แต่นักวิจารณ์บางคนก็บอกว่ารายการนี้นั้นมีด้านมืด เพราะมีพิธีกรที่มีชื่อเสียงหลายคนที่ทำหน้าที่วิจารณ์และให้ความเห็นเกี่ยวกับสมาชิกที่อยู่ในบ้าน 

“ฮานะ” นั้นมีบุคลิกที่สนุกสนาน และสร้างเสียงหัวเราะเสมอ แต่เธอเริ่มได้เสียงวิจารณ์ในแง่ลบจากโลกออนไลน์หลังจากที่เหวี่ยงใส่เพื่อนร่วมบ้านที่ทำชุดมวยปล้ำของเธอพัง โดยเธอได้รับการด่าทอเกี่ยวกับรูปร่างภายนอกของเธอ หลายข้อความบอกว่าเธอน่าเกลียด และบางคนก็เรียกเธอว่า “กอริลลา” ทั้งยังเหยียดเชื้อชาติจากการที่เธอเป็นลูกครึ่งอินโดนีเซียอีกด้วย

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม “ฮานะ” โพสต์รูปให้เห็นว่ามีการกรีดข้อมือและเต็มไปด้วยเลือด โดยเธอบอกว่าเธอเจ็บปวดที่มีคนไล่ให้เธอไป “ตาย” และอยากให้เธอ “หายไป” ฮานะบอกด้วยความเศร้าก่อนที่จะเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงว่า “ฉันอยากเป็นคนที่ถูกรัก ขอโทษที่อ่อนแอ” 

.

รวดเร็ว และแหลกสลาย

ประธาน Fuji TV ออกมาขอโทษในทันทีที่ไม่ละเอียดอ่อนและมั่นคงกับ “ฮานะ” เพื่อสนับสนุนเธอยามที่ต้องการ และได้ลบทวีตที่เกี่ยวกับซีซั่นล่าสุดของรายการออกไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งรูปชุดมวยปล้ำของเธอ รวมทั้งประกาศยกเลิกการออกอากาศตอนที่เหลือทั้งหมด และไม่มีแผนจะทำซีรีส์ตอนใหม่ในเร็วๆ นี้ 

ขณะที่ Netflix ก็ร่วมแสดงควาเสียใจไปยังครอบครัวของ “ฮานะ” และปฎิเสธที่จะให้ความเห็นอะไรมากกว่าไปนี้ โดยรายการนี้ก็ยังคงอยู่ในระบบสตรีมมิ่งของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ผู้ร่างกฎหมายและผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตก็ต่างแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ “ฮานะ คิมูระ” เช่นกัน

บริษัท Yahoo Japan เผยว่าจะร่วมแชร์เทคโนโลยีที่จะป้องกันโพสต์ที่มีการคุกคามทางไซเบอร์ และจะเปิดตัวช่วงทางให้แสดงความคิดเห็นรวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในเดือนนี้ ขณะที่ “ทวิตเตอร์” นั้นจะดำเนินการทางกฎหมายให้เร็วที่สุดเพื่อปกป้องการคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ด้านอินสตาแกรมก็ขอให้ผู้ใช้รายงานและติดต่อบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทันทีที่รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย

ข่าว REUTERS

เข้าชม 306 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม