พบกับรายการสารคดีความรู้ของทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ย่อสาระให้ใกล้ตัวไปพร้อมกับการเดินทาง เปิดโลกที่น้อยคนจะได้สัมผัส แบบ สั้น สนุก ลึก รู้ กับรายการ “กบนอกกะลา” ของบริษัท ทีวีบูรพาฯ โดย เทมส์-ไรวินท์ ทิพมาศ, ฟ้า-บุณฑริกา รัตนประสิทธิ์กุล และ นิน-กนิน ธนารวิพร จะสลับสับเปลี่ยนมาทำหน้าที่พิธีกร ทุกวันเสาร์ เวลา 11.30 น. ทางช่อง 9 กด 30 วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ พาไปพบกับเรื่องราวของโปรตีนทางเลือก “สตัฟฟ์ชุบชีวิตอมตะ ศิลปะสัตว์โลก”
เชื่อว่าโลกหลังความตายคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางครั้งใหม่ของสิ่งที่เคยมีชีวิต และแน่นอนอย่างเดียวที่สามารถทิ้งไว้บนโลกได้ นั่นคือ “ร่างไร้วิญญาณ” ของสรรพสัตว์เหล่านั้น ซึ่งบางร่างก็มีความสำคัญต่อโลกทั้งในแง่ของ การศึกษา เศรษฐกิจ และการรักษาไว้ซึ่งความทรงจำ นำมาสู่กระบวนการรักษาร่าง ที่พวกเรารู้จักกันในรูปแบบของการสตัฟฟ์ การรักษาสภาพร่างกายสัตว์ที่เสียชีวิตให้ดูเหมือนยังมีชีวิตหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าการสตัฟฟ์สัตว์ เป็นที่รู้จักและมีการทำกันมาอย่างยาวนาน แต่จะทำอย่างไรให้สัตว์สตัฟฟ์นั้นดูมีชีวิตและเหมือนจริงมากที่สุด ความรู้ด้านกายวิภาคของสัตว์และประสบการณ์ของผู้ทำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการจัดแสดงดังที่มักจะเห็นในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศวิทยาและชีววิทยาร่วมด้วย
โดยทั่วไปเรากำหนดรูปแบบของการสตัฟฟ์สัตว์เป็น 2 ประเภทด้วยกัน การสตัฟฟ์สัตว์เพื่อการศึกษา เป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่เน้นการรักษาลักษณะภายนอกเพื่อใช้ศึกษาด้านอนุกรมวิธาน เพื่อให้เห็นถึงลักษณะทางกายวิภาค เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของสัตว์ยามมีชีวิต นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดด้านชีววิทยาการสตัฟฟ์สัตว์เพื่อการจัดแสดง เป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่มีการจัดท่าทางของสัตว์และจัดแสดงโดยอิงจากสภาพในธรรมชาติ กล่าวคือนอกจากสัตว์สตัฟฟ์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นเสมือนมีชีวิตที่สุด จึงต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ดังที่ได้กล่าว กบนอกกะลา จึงพาคุณผู้ชมออกเดินทางเพื่อไปรู้จักการสตัฟฟ์ เพื่อเข้าใจถึงความหมาย รูปแบบ กระบวนการ เศรษฐกิจ และประโยชน์ด้านการศึกษา เพื่อเกิดภูมิปัญญาต่อยอดในอนาคต #ช่อง9กด30