“แท่ง-หนุ่ม-เมฆ” พาไหว้ขอพรพุทธสถานสำคัญ “วัดบวรฯ” ในรายการ “ศักดิ์สิทธิ์ คงกระพัน” ทางช่อง 9


ในวันเสาร์ที่ 16 ม.ค. นี้ เวลา 13.00 น. ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 พร้อมเปิดโลกกว้าง สร้างความสุข กับรายการ “ศักดิ์สิทธิ์ คงกระพัน” รายการที่จะพาไปเจาะลึกเรื่องราวศักดิ์สิทธิ์ และ ความเชื่อ ความขลัง ตำนาน วัตถุมงคล ของดีของวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
.
วันนี้ แท่ง-ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และ หนุ่ม-คงกระพัน แสงสุริยะ 2 พิธีกรประจำรายการพร้อม เมฆ-วินัย ไกรบุตร จะพาผู้ชมทางหน้าจอไปชม พุทธสถานสำคัญที่อยู่คู่วัดบวรนิเวศวิหาร มาอย่างยาวนาน ซึ่งภายในวัดมีพุทธสภานที่สำคัญควรค่าแก่การเข้าไปเยี่ยมชม ขอพร กราบไหว้เป็นอย่างยื่ง เริ่มต้นที่พระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้งจนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯ ให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาฝนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาสี่เหลี่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจกและยังมีศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้นเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของจิตกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรปหรือฝรั่งเข้ามาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย
.
ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียนตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ เข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไปนอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วภายในพระอุโบสถนี้มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือพระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพานเพชรบุรี ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาคุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำ ปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ยังมีศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็นตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรงอาราธนาให้เสด็จประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมาตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือตำหนักจันทร์และพระตำหนักเพชร


เข้าชม 297 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม