“กบนอกกะลา” เสาร์ที่ 19 นี้ พบกับ “สตัฟฟ์ ชุบชีวิตอมตะ ศิลปะสัตว์โลก”ย่อสาระ พร้อมเปิดโลก สั้น สนุก ลึก รู้ ที่เลข 30 ที่ “ช่อง 9”

พบกับรายการสารคดีความรู้ของทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ย่อสาระให้ใกล้ตัวไปพร้อมกับการเดินทาง เปิดโลกที่น้อยคนจะได้สัมผัส แบบ สั้น สนุก ลึก รู้ กับรายการ “กบนอกกะลา” ของบริษัท ทีวีบูรพาฯ โดย เทมส์-ไรวินท์ ทิพมาศ, ฟ้า-บุณฑริกา รัตนประสิทธิ์กุล และ นิน-กนิน ธนารวิพร จะสลับสับเปลี่ยนมาทำหน้าที่พิธีกร ทุกวันเสาร์ เวลา 11.30 น. ทางช่อง 9 กด 30 วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ พาไปพบกับเรื่องราวของโปรตีนทางเลือก “สตัฟฟ์ชุบชีวิตอมตะ ศิลปะสัตว์โลก”


เชื่อว่าโลกหลังความตายคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางครั้งใหม่ของสิ่งที่เคยมีชีวิต และแน่นอนอย่างเดียวที่สามารถทิ้งไว้บนโลกได้ นั่นคือ “ร่างไร้วิญญาณ” ของสรรพสัตว์เหล่านั้น ซึ่งบางร่างก็มีความสำคัญต่อโลกทั้งในแง่ของ การศึกษา เศรษฐกิจ และการรักษาไว้ซึ่งความทรงจำ นำมาสู่กระบวนการรักษาร่าง ที่พวกเรารู้จักกันในรูปแบบของการสตัฟฟ์ การรักษาสภาพร่างกายสัตว์ที่เสียชีวิตให้ดูเหมือนยังมีชีวิตหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าการสตัฟฟ์สัตว์ เป็นที่รู้จักและมีการทำกันมาอย่างยาวนาน แต่จะทำอย่างไรให้สัตว์สตัฟฟ์นั้นดูมีชีวิตและเหมือนจริงมากที่สุด ความรู้ด้านกายวิภาคของสัตว์และประสบการณ์ของผู้ทำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการจัดแสดงดังที่มักจะเห็นในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศวิทยาและชีววิทยาร่วมด้วย

โดยทั่วไปเรากำหนดรูปแบบของการสตัฟฟ์สัตว์เป็น 2 ประเภทด้วยกัน การสตัฟฟ์สัตว์เพื่อการศึกษา เป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่เน้นการรักษาลักษณะภายนอกเพื่อใช้ศึกษาด้านอนุกรมวิธาน เพื่อให้เห็นถึงลักษณะทางกายวิภาค เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของสัตว์ยามมีชีวิต นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดด้านชีววิทยาการสตัฟฟ์สัตว์เพื่อการจัดแสดง เป็นการสตัฟฟ์สัตว์ที่มีการจัดท่าทางของสัตว์และจัดแสดงโดยอิงจากสภาพในธรรมชาติ กล่าวคือนอกจากสัตว์สตัฟฟ์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นเสมือนมีชีวิตที่สุด จึงต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ดังที่ได้กล่าว กบนอกกะลา จึงพาคุณผู้ชมออกเดินทางเพื่อไปรู้จักการสตัฟฟ์ เพื่อเข้าใจถึงความหมาย รูปแบบ กระบวนการ เศรษฐกิจ และประโยชน์ด้านการศึกษา เพื่อเกิดภูมิปัญญาต่อยอดในอนาคต #ช่อง9กด30


เข้าชม 117 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม