CEO ทำกิจการContent Streamingทำอย่างไรให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง60%

CEO ทำกิจการContent Streamingทำอย่างไรให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง60%
“โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่งฯ”
 
เมื่อปัจจุบันกลายเป็นยุคดิจิทัล การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตคอนเทนต์เริ่มแพร่หลาย การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทำอย่างไร รายการ CEO VISION พุธที่ 8 มิ.ย.2559 คุณกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม CEOและเจ้าของ บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (โปรเอ็น อินเทอร์เน็ต) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกลุ่มแรก ๆ ของประเทศไทย ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ครองส่วนแบ่งของตลาดบริการคอนเทนต์สตรีมมิ่งมากกว่า 60% เมื่อปีที่แล้ว เปิดเผยถึงกลยุทธ์การตลาดและการผลิตคอนเทนต์ให้สร้างสรรและแตกต่าง 
 
คุณกิตติพันธ์ เริ่มก้าวเข้าสู่วงการอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ยุคดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเริ่มจากการเปิดร้านอินเตอร์เน็ตเล็ก ๆ ที่สยามสแควร์ โดยดูถึงดีมานด์ ว่าทำไมถึงมีคนมาขอใช้เยอะทั้งที่มีแค่เครื่องเดียว จากจุดเริ่มต้นมาแค่เครื่องเดียว จริง ๆ ตอนนั้นทำร้านอาหาร และมีคอนเน็คชั่น เรื่องอินเตอร์เน็ตอยู่ และนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่มาเดินแถวสยามสแควร์ส่วนใหญ่ก็จะมาขอใช้ จึงเกิดไอเดียทำเป็นร้านอินเตอร์เน็ตขึ้นมา โดยเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเรื่อย ๆ จากนั้น มองว่า ยังมีอินเตอร์เน็ตที่เหลือใช้ น่าจะเปิดร้านเพิ่มย่านสีลมได้อีก จึงเริ่มเชื่อมสปีดอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้นใช้แบนวิธที่เหลือไปวางระบบเซิร์ฟเวอร์ 
 
“เว็บเซิร์ฟเวอร์ และเมลเซิร์ฟเวอร์ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของดาต้าเซ็นเตอร์และอินเตอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์  ซึ่งช่วงแรกทำลักษณะเป็นไฟล์เล็กก่อน และเริ่มกระจายลิงก์ จากลิงก์ที่เหลืออยู่ใช้ระบบ 33.6 K จนปรับมาเป็น ISDN  เว็บเซิร์ฟเวอร์ เมลเซิร์ฟเวอร์ หลังจากที่เราเริ่มทำ ก็เริ่มจดโซเมเนม ให้มาวางพื้นที่เว็บไซต์ เมลเซิร์ฟเวอร์ที่ขยายขึ้นไปเรื่อย ๆ ลูกค้าก็เติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ จุดที่อยู่ตรงสีลมไม่เพียงพอ  จึงมองเห็นโอกาส ว่าการที่เราจะให้บริการที่ดีเราควรที่จะอยู่ใกล้คอลล์ระบบของประเทศที่สุด ตอนนั้นมีความคิดอย่างนั้น จึงมีไอเดีย คอลล์ระบบของประเทศมันคือ CAT  ก็มีไอเดียเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ จึงเข้าไปเจรจาขอเช่าพื้นที่ตึกอาคาร กสท ซึ่งในช่วงแรก ๆ แทบไม่มีใครที่เป็นเอกชนใช้เช่าพื้นที่ CAT เลย เราเป็นเจ้าแรกที่เข้าไป ที่ กสท บางรัก เช่าพื้นที่ที่นั่น” คุณกิตติพันธ์ อธิบายต่อเนื่อง และว่าเบื้องต้นประมาณ 150 ตารางเมตร ทำเป็นออฟฟิศส่วนหนึ่งและทำเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ส่วนหนึ่ง ให้บริการทั้ง ISP และดาต้าเซ็นเตอร์ เมื่อเห็นโอกาสตรงนั้น ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม คือ มีเดีย คือ สายที่ไปถึงที่บ้านมันเปลี่ยนแปลงไป สายที่เชื่อมโยงกับดาต้าเซ็นเตอร์ไปยังผู้ใช้งานจาก Content ถึงผู้ใช้งานมันเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี เริ่มจาก 33.6 K  ขึ้นมาเป็น 56K  จนมาถึง 128K  ของ ISDN  มาเปลี่ยนแปลงเป็น ID scale lead line มาปัจจุบัน MPLS  และ Fiber to the Home ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีเรื่องโทรศัพท์มือถือเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่  2G  3G  จนมา 4G  
 
สิ่งเหล่านี้มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ISP และดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยสปีดความเร็วในการเชื่อมต่อมันทำให้ธุรกิจContent เปลี่ยนไป ทุกอย่างลื่นไหล กลุ่มธุรกิจ content เริ่มคิดอะไรที่หลากหลาย จึงเป็นธุรกิจที่ตามเทคโนโลยีมาก ๆ ถ้าจะอยู่วงการนี้ให้ได้ ทั้งที่เข้ามาใหม่และที่ล้มหายตายจากไป แต่ก็มีหลายรายที่คงอยู่และเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ หลายรายเหล่านี้จะต้องคิดล่วงหน้า ธุรกิจที่ล้มหายไป เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามามันไปลดกำลังผู้ซื้อของธุรกิจเก่า ซึ่งถ้าคิดไม่ทันก็จะทยอยปิดไป
 
“เรามองว่า การเปิดกว้างของผู้ประกอบการในส่วนตัวของบริษัทโปรเอ็น อินเทอร์เน็ต ตั้งแผนกที่เป็น Research and Development (R&D) คือ อันนี้สำคัญมากที่ทุกบริษัทต้องมี ณ ปัจจุบัน การไม่มีแผนกนี้ จะทำให้เราไม่มีคนที่จะมาคิดแทน เราเป็นผู้นำในองค์กรก็จริง แต่ถามว่าจะให้ไปหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ  หา  business Unit ใหม่ ๆ ที่มาตอบโจทย์อนาคตด้วยตัวคนเดียวคงไม่ทัน จึงต้องสร้างแผนกนี้ขึ้นมา และคนรุ่นใหม่ก็จะมองเห็นอะไรที่ไกลกว่า”
 
คุณกิตติพันธ์ เล่าต่อไปอีกว่า สำหรับมุมมองในวงการดิจิทัลในไทย เท่าที่ดู content นำ และเทคโนโลยี ต้องไปซัพพอร์ตให้ได้ ไม่ใช่ว่า content  นำเทคโนโลยีและซัพพอร์ต รวมไปถึงสปีดความเร็ว เราต้องตามให้ทันเช่นกัน แต่ยังเป็นช่องว่างของโอกาสอยู่ ซึ่งเชื่อว่า ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ยังไปได้อีกไกล เพราะการรวมศูนย์หลาย ๆ อย่าง ต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ ถึงจะมีปริมาณที่ลดน้อยลง แต่ปริมาณผู้ใช้จากเดิมที่ไม่เคยใช้มาก่อน ก็ต้องกลับมาใช้ จะทำให้จำนวนนี้ทวีคูณขึ้นไปอีก การรวมศูนย์จำนวนเซิร์ฟเวอร์ลดลงก็จริง แต่จำนวนผู้ใช้งาน จากเดิมบริษัททำบัญชีไม่เคยต้องออนไลน์ ปัจจุบันนี้ต้องออนไลน์ ขึ้นอยู่กับดาต้าเซ็นเตอร์กันหมดแล้ว
 
สำหรับปัจจัยที่ทำให้บริษัทโปรอิมเมจฯ อยู่มาได้ยาวนานและเติบโตแบบก้าวกระโดด คุณกิตติพันธ์ มองว่า ทีมงานสำคัญที่สุด เพราะกลุ่มสตาร์ทอัพจะสนิทกันมากพอสมควร หลายรายที่มาเป็นสตาร์ทอัพและร่วมงานในดาต้าเซ็นเตอร์กับเราก็เจริญเติบโต บางรายธุรกิจเป็นแสนล้าน จากกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่มูลค่าบริษัทหลักหมื่น ตอนนี้หลักแสนล้าน มี 13 สาขา 13 ประเทศ ที่ Run Business อยู่ จะเข้าตลาดอเมริกาเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ เราสนับสนุนเขาตั้งแต่แรก การรวมหัวกันคิดและความเชื่อมั่นในบุคลากรที่เรามี ใช้คนให้ถูกที่ถูกทาง และเราควรที่จะหารายรับของเราอย่างไรในสิ่งที่เราคิด
 
“ส่วนสื่อดิจิทัลของดาต้าเซ็นเตอร์ การบริหารคนใกล้เคียงกันทุกที่ แต่สิ่งที่เรายึดมั่น เรามีทีมงานที่เป็นแขน เป็นขา และทีมงานต้องทดแทนตัวผมได้ และทดแทนบุคคลอื่นได้ และเชื่อมั่นในทีมงานว่าสิ่งที่เรามอบหมายไปเขาทำได้ คนที่ผมเลือกมาทำในส่วนไหนผมต้องเชื่อมั่นในตัวเขาว่าเขาทำได้ ทุกคนรักองค์กร ทุกคนพร้อมที่จะเป็น CEO ได้ เราเขียนเส้นทาง วางแนวทาง ทิศทางในการเติบโต ให้กับพนักงานทุกคน และบริษัทนี้ดีได้ และต้องดีกว่าเดิมด้วย” 
 
คุณกิตติพันธ์ อธิบายอีกว่า ปัจจุบันมีการรับบุคลากรใหม่ ๆ เข้ามา เด็กรุ่นใหม่อาจจะมีความอดทนน้อยกว่าคนรุ่นเก่า แต่ถามว่าเขามีไอเดียไหม เขามีความสามารถไหม เขามี บางทีเขามีความสามารถเฉพาะด้านโดยเฉพาะเรื่องออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง เหนือคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นเราควรเลือกคนให้ถูก ใช้คนให้เป็น 
 
ส่วนการต่อยอดทางเทคโนโลยี คุณกิตติพันธ์ เล่าว่า ที่ต่อยอดในส่วนของความปลอดภัยทางเน็ตเวิร์ค และการโจมตีระบบ เราเป็นรายแรก ๆ ที่มีการป้องกันการโจมตีระบบข่าว เพราะฉะนั้น ต้นทุนเราจึงถูกกว่ารายอื่น ๆ แน่นอน  ธุรกิจ ISP  และดาต้าเซ็นเตอร์ของหลายเจ้าไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่ ด้วยคุณภาพ และมาตรฐานของเรา ISO2100 ซึ่งรายอื่นก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นความแตกต่างมันไม่มี จึงมองว่า Add on  และเพิ่ม value added ให้ลูกค้าได้บ้าง เราจึงคิดต่อยอด product เหล่านี้เข้ามา มัดแพ็กเกจรวมกันให้กับลูกค้าไป สิ่งที่ลูกค้าได้ จึงทำให้ลูกค้าสามารถเลือกได้
 
เมื่อพูดถึงการสนับสนุน คุณกิตติพันธ์ ระบุว่า ในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ ปัจจุบันภาครัฐ มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างมาก เพราะจะมีการตั้งหน่วยงานกลางเร็ว ๆ นี้ที่ดูแลและให้บริการหน่วยงานภาครัฐได้ พื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐตอนนี้มีอยู่หลายร้อยแห่ง พื้นที่รวม ๆ แล้วเกือบ 4 หมื่นตารางเมตร สิ่งเหล่านี้ถูกผลักดันมาให้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ มีทั้งภาครัฐสร้างเอง และภาคเอกชนที่จะต้องมารองรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ตั้งแต่ปี 59-62 ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์จะบูมกว่านี้อีกเยอะ 
 
ส่วนกลุ่มสตาร์ทอัพ คุณกิตติพันธ์แนะว่า เล็งไปเลยว่าจะเอาอะไรลงดาต้าเซ็นเตอร์บ้าง กลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ทำสตาร์ทอัพทั้งหลาย รวมถึงการเขียนแอพพลิเคชั่น  ชี้เป้าได้เลยว่าธุรกิจอะไรที่ออฟไลน์อยู่ ไปจับมาผลักดันให้อยู่บนดาต้าเซ็นเตอร์ให้ได้เพราะอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าหน่วยงานภาครัฐต้องการเช่าใช้ผ่านระบบข่าวบนดาต้าเซ็นเตอร์ ทิศทางที่ไปแน่ ๆ ในปีนี้ถึงปี 2562 
 
คุณกิตติพันธ์ ทิ้งท้ายไว้ว่า อยากให้ CEO ทุกท่านเชื่อมั่นในทีมงานและวางแผนให้ทีมงานให้ชัดเจน และเชื่อในวิสัยทัศน์ตัวเอง และเชื่อในผู้ตามด้วยว่าเราเลือกเขามาแล้ว เราเชื่อมั่นเขาหรือไม่ การเลือกคนให้เข้ากับงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ CEO ที่จะมีเวลาไปคิดงานอื่น เลือกคนใหถูกกับงานและเชื่อมั่นกับทีมงานตัวเอง
 
เรื่อง  :  จิรารัตน์  วรรณี 
เรียบเรียง : อริสรา ประดิษฐสุวรรณ

 


เข้าชม 18 ครั้ง
ดูข่าวเพิ่มเติม

ข่าวแนะนำ